การบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ PM fire alarm system

PM Fire alarm

การบำรุงรักษา ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Alarm System) เป็นระบบที่ติดตั้งไว้เพื่อแจ้งเตือน ผู้ที่พักอาศัยอยู่ภายในอาคารให้ทราบเหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้สามารถระงับเหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่เริ่มต้นได้ทันเวลา กับสามารถที่จะประสานงานขอความช่วยเหลือในการดับเพลิง ต่างๆ กับ สามารถขนย้ายทรัพย์สินที่จำเป็น และการอพยพหนีไฟให้เป็นไปตามขั้นตอนต่างๆ ที่ทำการฝึกซ้อม ไว้อย่างเป็นระบบ 

1. วิธิการบำรุงรักษาตู้ควบคุมระบบ (Fire Alarm Control Panel)

1.1 การทำความสะอาดกับตรวจเช็ค และ ทดสอบการทำงานตู้ควบคุมระบบ (Fire Alarm Control Panel) ให้ทำความสะอาด(Cleaning) ตัวตู้ด้วยแปรงปัดฝุ่น หรือใช้เครื่องเป่าลม(Blower) เป่าฝุ่นออกทั้งภายนอกตู้และภายในตู้
1.2 ให้ตรวจเช็คดูสายโซนต่างๆ ภายในตู้ว่าปกติหรือไม่ กับดูที่หน้าจอ (LCD or LED Display) ว่าแสดงผลปกติหรือไม่
1.3 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟแสดงสถานะ (LED Indicators) ที่หน้าตู้ควบคุมทั้งหมดทุกดวง เช่น
FIRE ALARM(RED) กับ SUPERVISORY(YELLOW) กับ TROUBLE(YELLOW) กับ AC POWER(GREEN) และ ALARM SILENCED (YELLOW) โดยการกดปุ่ม SYSTEM RESET (LAMP TEST) ที่หน้าตู้ควบคุม แล้วดูว่าดวงไฟทุกๆ ดวง ติดโชว์ครบทั้งหมดหรือไม่
1.4 ให้ตรวจเช็คดูปุ่มควบคุมระบบ (Switch Controls) ทั้งหมดทุกปุ่ม เช่น ACKNOWLEDGE กับ ALARM SILENCE กับ DRILL กับ SYSTEMRESET(LAMPTEST) ว่า การกดปุ่มสั่งงานนั้นๆ ปกติหรือไม่
1.5 ให้ตรวจเช็คดูเสียงแจ้งเตือน (BUZZER) ของตู้ควบคุม กรณีถ้ามีการแจ้งเตือน (Alarm) เข้ามา เสียงที่ตู้ดังแจ้งเตือนปกติหรือไม่ และเมื่อกดปุ่มรับทราบการแจ้งเตือน (ACKNOWLEDGE) แล้วเสียงแจ้งเตือนที่ตู้หยุดดังหรือไม่
1.6 ให้ตรวจเช็คดูว่าไฟฟ้า 220 โวลต์ (AC กระแสสลับ ) ที่จ่ายเข้าตู้ควบคุม โดยดูที่ดวงไฟ AC POWER ว่ายังติดแสดง สถานะเป็นไฟสีเขียว(GREEN) ปกติหรือไม่ หากดวงไฟไม่ติดแสดงว่า ระบบไฟฟ้ามีปัญหาให้ใช้มิเตอร์วัดไฟฟ้าที่หม้อแปลงไฟ (Power Supply) ในตู้ควบคุมว่ามีไฟฟ้าจ่ายเข้ามาหรือไม่
1.7 ให้ตรวจเช็คดูแบตเตอรี่(Battery) ในตู้ควบคุมทั้ง 2 ก้อนว่า ที่ขั้วแบตเตอรี่เป็นสนิม หรือมีน้ำกรดไหลออกมาจากขั้วแบตเตอรี่หรือไม่
1.8 ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คตู้ควบคุมนี้ทุกวันหรือ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

2. วิธีการบำรุงรักษาตู้ใ้ส่โมดูลฯ กับโมดูลฯ (Fire Alarm Module Box Include Module)

2.1 การทำความสะอาดกับตรวจเช็คและทดสอบการทาํงานตู้ใส่โมดูลฯ (Fire Alarm Module Box) ให้ทำความสะอาด (Cleaning) ตัวตู้นี้ด้วยแปรงปัดฝุ่นหรือใช้เครื่องเป่าลม(Blower) เป่าฝุ่นออกทั้งภายนอกตู้และภายในตู้
2.2 ให้ตรวจเช็คดูสายนำสัญญาณต่างๆ ของโมดูลฯ (Addressable Module) ภายในตู้ว่าปกติหรือไม่
2.3 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟ(LED Lamp) ที่โมดูลฯ (Module) ทุกโซนทุกตัว ว่าดวงไฟติดครบทุกดวงหรือไม่
2.4 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟ (LED Lamp) ที่หน้าตู้นี้ทุกๆโซน (Zone) ตอนทดสอบการทำงานระบบอุปกรณ์ ว่าดวงไฟติดครบทุกดวง และติดแสดงผลโชว์ตรงตามโซน (Zone) ที่ส่งข้อมูลมาจากตู้ควบคุม (FCP) หรือไม่
2.5 ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คตู้แผนผัง แสดงจุดเกิดเหตุเพลิงไหมนี้ทุกวัน หรือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

3. วิธีการบำรุงรักษาตู้แผนผัง แสดงจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ (Graphic Annunciator)

3.1 การทำความสะอาด กับตรวจเช็ค และทดสอบการทำงานตู้แผนผัง (Graphic Annunciator) ให้ทำความสะอาด (Cleaning) ตัวตู้นี้ด้วยแปรงปัดฝุ่นหรือใช้เครื่องเป่าลม(Blower) เป่าฝุ่นออก ทั้งภายนอกตู้และภายในตู้
3.2 ให้ตรวจเช็คดูสายนำสัญญาณต่างๆ ภายในตู้ว่า ปกติหรือไม่
3.3 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟ(LED Lamp) ที่หน้าตู้นี้ทุกๆโซน (Zone) ว่าดวงไฟติดครบทุกดวงหรือไม่โดยการกดปุ่มทดสอบดวงไฟทั้งหมด (All Lamp Test Switch)
3.4 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟ (LED Lamp) ที่หน้าตู้นี้ทุกๆโซน (Zone) ตอนทดสอบการทำงานระบบอุปกรณ์ว่าดวงไฟติดครบทุกดวง และติดแสดงผลโชว์ตรงตามโซน (Zone) ที่ส่งข้อมูลมาจากตู้ควบคุม (FCP) หรือไม่
3.5 ให้ตรวจเช็คดูเสียงแจ้งเตือน (BUZZER) ของที่ตู้นี้ กรณีถ้าตู้ควบคุม (FCP) มีการแจ้งเตือน (Alarm) เข้ามาที่ตู้นี้ เสียงแจ้งเตือนดังปกติหรือไม่ และเมื่อกดปุ่มรับทราบการแจ้งเตือน (ACKNOWLEDGE หรือ Stop Buzzer) ที่ตู้แล้ว เสียงแจ้งเตือนที่ตู้นี้หยุดดังหรือไม่
3.6 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟ POWER ON แสดงสถานะไฟ 24 โวลต์ดีซี (DC กระแสตรง) ที่ตู้ควบคุม (FCP) จ่ายไฟมาให้เพื่อการทำงานของระบบตู้นี้ว่า ดวงไฟนี้ติดหรือไม่
3.7 ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คตู้แผนผัง แสดงจุดเกิดเหตุเพลิงไหมนี้ทุกวัน หรือ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

4. วิธีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยลำแสงบีม (Beam Smoke Detector)

4.1 การทำความสะอาด กับตรวจเช็ค และทดสอบการทำงาน อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม (Reflected Beam- Smoke Detector) ให้ทำความสะอาด(Cleaning) อุปกรณ์นี้ด้วยการใช้แปรงปัดฝุ่น แล้วใช้ผ้าสะอาดผสมน้ำยาทำความสะอาดเช็ดที่ตัวอุปกรณ์
4.2 ให้ทำความสะอาด (Cleaning) แผ่นสะท้อนลำแสง (Reflective Plate with Long Range Kit) ด้วยการใช้แปรงปัดฝุ่น แล้วใช้ผ้าสะอาดผสมน้ำยาทำความสะอาดเช็ดที่แผ่นสะท้อนลำแสง
4.3 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟแสดงสถานะที่ตัวอุปกรณ์ว่า ปกติตรงตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้หรือไม่
4.4 ให้ตรวจเช็คระดับลำแสง และปรับระยะของลำแสง ว่าได้ตรงตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้ หรือไม่
4.5 ให้ทำการทดสอบการทำงานของ อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม (Reflected Beam Smoke Detector) กับแผ่นสะท้อนลำแสง (Reflective Plate with Long Range Kit) ด้วยการใช้ไม้ยาวๆ ติดกับแผ่นกระดาษที่ทึบแสง โดยการใช้แผ่นกระดาษทึบแสงขึ้นไปบังลำแสงระหว่างตัวอุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีมที่ยิงส่องไปหาแผ่นสะท้อน แล้วค่อยๆเลื่อนแผ่น กระดาษที่บังไปช้าๆ จนกว่าอุปกรณ์ทำการตรวจจับและแจ้งเตือน (Detector and Alarm) ไปที่ตู้ควบคุม (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
4.6 ได้ทำการทดสอบการทำงานของ อุปกรณ์ชุดทดสอบการทำงานระยะไกล (Remote Test Station) สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม (Beam Smoke Detector) ด้วยการใช้ลูกกุญแจเฉพาะของอุปกรณ์นี้ไปไขทดสอบ โดยก่อนไขทดสอบดวงไฟ(LED) แสดงสถานะที่บนตัวอุปกรณ์จะติดเป็นสีเขียว(Green) แต่เมื่อไขกุญแจทดสอบการ ทำงานแล้วดวงไฟจะติดเปลี่ยนเป็นสีแดง(RED) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
4.7 ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คอุปกรณ์นี้เดือนละ 1 ครั้ง

5. วิธีการบำรุงรักษาตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector)

5.1 การทำความสะอาดกับตรวจเช็ค และทดสอบการทำงาน ตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ให้ทำความสะอาด(Cleaning) ด้วยแปรงปัดฝุ่น หรือใช้เครื่องเป่าลม(Blower) โดยการถอดส่วนหัวอุปกรณ์(Detector Head) ออกจากฐานอุปกรณ์ (Detector Base) แล้วปัดหรือเป่าฝุ่นออก
5.2 ให้ตรวจเช็คดูสายนำสัญญาณทั้งสายคู่เข้าและสายคู่ออก ที่ตรงฐานอุปกรณ์ (Detector Base) ว่าปกติหรือไม่
5.3 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟ (LED) ที่ตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน(Smoke Detector) ว่าดวงไฟติดกระพริบๆ ปกติหรือไม่
5.4 ให้ทำการทดสอบการทำงานระบบตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน(Smoke Detector) ด้วยการใช้สเปรย์ควันเทียม (SmokeDetector Tester) โดยการฉีดสเปรย์ควันเทียมไปตรงตำแหน่งห้องดักจับควัน (Chamber) ของตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ซึ่งฉีดห่างประมาณ 1 ฟุต กับฉีดเพียงแค่ 2 ครั้ง แล้วให้รอประมาณ 10 – 15 วินาที อุปกรณ์จะทำการตรวจจับและแจ้งเตือน (Detector and Alarm) ไปที่ตู้ควบคุมระบบ (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
5.5 ให้ทำการทดสอบการทำงานระบบการแจ้งปัญหา (Trouble) ของอุปกรณ์ โดยการถอดหัวอุปกรณ์ (Detector Head) ออกจากฐานอุปกรณ์ (Detector Base) ของ ตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) รอสักครู่ระบบ จะแจ้งเตือน (System Trouble) ไปที่ตู้ควบคุม (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
5.6  ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คอุปกรณ์นี้เดือนละ 1 ครั้ง

6. วิธีการบำรุงรักษาตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)

6.1 การทำความสะอาดกับตรวจเช็ค และทดสอบการทำงาน ตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) แบบต่างๆ ให้ทำความสะอาด (Cleaning) ด้วยแปรงปัดฝุ่น หรือใช้เครื่องเป่าลม(Blower)
6.2 การทำความสะอาด ตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน แบบแมคคานิกส์ (Mechanical Heat Detector)โดยการใช้แปรง ปัดฝุ่น หรือใช้เครื่องเป่าลม(Blower) เป่าฝุ่นออกสามารถตรวจเช็คและทดสอบได้เฉพาะข้อ 5.5 แต่ไม่สามารถจะตรวจเช็คและทดสอบแบบในข้อ 5.6 กับ ข้อ 5.7(เพราะอาจทำให้อุปกรณ์แบบนี้เสียเลย) และข้อ 5.8 ได้
6.3 การทำความสะอาด ตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน แบบแท่ง (Rate-Anticipation Heat Detector) โดยการใช้แปรงปัดฝุ่น หรือใช้เครื่องเป่าลม(Blower) เป่าฝุ่นออกไม่สามารถตรวจเช็คและทดสอบแบบในข้อ 5.6 กับ ข้อ 5.8 ได้
6.4  การทำความสะอาด ตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Heat Detector)โดยการถอดส่วนหัวอุปกรณ์ (Detector Head) ออกจากฐานอุปกรณ์(Detector Base) แล้วปัดหรือเป่าฝุ่นออก
6.5 ให้ตรวจเช็คดูสายนำสัญญาณทั้งสายคู่เข้าและสายคู่ออก ที่ตรงฐานอุปกรณ์ (Detector Base) ว่าปกติหรือไม่
6.6 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟ (LED) ที่ตัว อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ว่าดวงไฟติดกระพริบๆ ปกติหรือไม่
6.7 ให้ทำการทดสอบการทำงานของตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ด้วยการใช้เครื่องเป่าลมร้อน (Hot Air Blower) หรืออุปกรณ์ทดสอบโดยเฉพาะ (Heat Detector Tester)โดยการเป่าลมร้อนในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับชนิดของอุปกรณ์รุ่นนั้นๆ ไปตรงตำแหน่งส่วนหัว (Head) ของตัวอุปกรณ์ความร้อน (Heat Detector) แล้ว เป่าวนไปมาในระยะห่างที่เหมาะสมแล้วให้รอประมาณ 10 วินาที อุปกรณ์ก็จะทำการตรวจจับ และแจ้งเตือน (Detector and Alarm) ไปที่ตู้ค วบคุม (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
6.8 ให้ทำการทดสอบการทำงานระบบการแจ้งปัญหา (Trouble) ของอุปกรณ์ โดยการถอดหัวอุปกรณ์ (Detector Head) ออกจากฐานอุปกรณ์ (Detector Base) ของอุปกรณ์ความร้อน (Heat Detector) เฉพาะตัวอุปกรณ์ในข้อ 5.4 เท่านั้น รอสักครู่ระบบจะแจ้งเตือน (System Trouble) ไปที่ตู้ควบคุม (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้

7. วิธีการบำรุงรักษาตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน ในท่อ (Duct Smoke Detector)

7.1 การทำความสะอาด กับตรวจเช็ค และทดสอบการทำงาน ตัวอุปกรณ์ตรวจจับควันในท่อ (Duct Smoke Detector) ให้ทำความสะอาด (Cleaning) ด้วยแปรงปัดฝุ่น หรือ ใช้เ ครื่องเป่าลม (Blower) โดยการถอดส่วนหัวอุปกรณ์ (Detector Head) ออกจากฐานอุปกรณ์ (Detector Base) กับถอดท่อดักควัน (Sampling Tube) ที่กล่องแล้วปัดหรือเป่าฝุ่นออก
7.2 ให้ตรวจเช็คดูสายนำสัญญาณทั้งสายคู่เข้าและสายคู่ออก ที่ตรงฐานอุปกรณ์ (Detector Base) ว่าปกติหรือไม่
7.3 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟ (LED) ที่ตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ว่าดวงไฟติดกระพริบๆ ปกติหรือไม่
7.4 ให้ทำการทดสอบการทำงานระบบตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ด้วยการใช้สเปรย์ควันเทียม (Smoke Detector Tester) โดยการฉีดสเปรย์ควันเทียมไปตรงตำแหน่งห้องดักจับควัน (Chamber) ของตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ซึ่งฉีดห่างประมาณ 1 ฟุต กับฉีดเพียงแค่ 2 ครั้ง แล้วให้รอประมาณ 10 – 15 วินาที อุปกรณ์จะทำการตรวจจับและแจ้งเตือน (Detector and Alarm) ไปที่ตู้ควบคุมระบบ (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์ กำหนดไว้
7.5 ให้ทำการทดสอบการทำงานระบบการแจ้งปัญหา (Trouble) ของอุปกรณ์ โดยการถอด หัวอุปกรณ์ (Detector Head) ออกจากฐานอุปกรณ์ (Detector Base) ของ ตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) รอสักครู่ระบบ จะแจ้งเตือน (System Trouble) ไปที่ตู้ควบคุม (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
7.6 ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คอุปกรณ์นี้เดือนละ 1 ครั้ง

8. วิธีการบำรุงรักษาตัวอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector)

8.1 การทำความสะอาด กับตรวจเช็ค และทดสอบการทำงาน ตัวอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) ให้ทำความสะอาด (Cleaning) ดัวยแปรงปัดฝุ่นหรือใช้เครื่องเป่าลม (Blower) โดยการใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็ดที่ส่วนเลนส์ ของอุปกรณ์ (Lens Sensor) ส่วนตัวอุปกรณ์ให้ทำการปัดหรือเป่าฝุ่นออก
8.2 ให้ตรวจเช็คดูสายนำสัญญาณทั้งสายคู่เข้าและสายคู่ออก ที่อุปกรณ์ (Flame Detector) ว่าปกติหรือไม่
8.3 ให้ทำการทดสอบการทำงานระบบ ตัวอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detectors) แต่ต้องดูชนิดของอุปกรณ์ว่าใช้การตรวจจับ (Sensor) ชนิดใดเช่น ชนิดอัลตร้าไวโอเล็ต Ultraviolet (UV) หรือชนิดอินฟราเรด Infrared(IR) หรือ อัลตร้าไวโอเล็ต Ultraviolet(UV) กับ อินฟราเรด Infrared(IR) หรือชนิด 3 อินฟราเรดTripleIR(IR3) ซึ่งในการที่จะทดสอบควรใช้เครื่องมือทดสอบ โดยเฉพาะคืออุปกรณ์ทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Simulator) ทีมีลำแสงทดสอบทั้งชนิดอัลตร้าไวโอเล็ต Ultraviolet(UV) กับอินฟราเรด Infrared(IR) และ 3 อินฟราเรดTripleIR (IR3) ส่วนการทดสอบให้ยิงลำแสงที่อุปกรณ์ทดสอบไปหาที่หน้าเลนส์ของอุปกรณ์ตรวจจับ เปลวไฟ ในระยะไกลสุด 6 เมตร แล้วให้รอประมาณ 5 – 10 วินาที ตัวอุปกรณ์จะทำการตรวจจับ และแจ้งเตือน (Detector and Alarm) ไปที่ตู้ควบคุมระบบ (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
8.4 ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คอุปกรณ์นี้ เดือนละ 1 ครั้ง

9. วิธีการบำรุงรักษาตัวอุปกรณ์ตรวจจับ แก๊ส (GAS Detector)

9.1 การทำความสะอาด กับตรวจเช็ค และทดสอบการทำงานตัวอุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส (Gas LPG Detector) ให้ทำความสะอาด (Cleaning) ด้วยแปรงปัดฝุ่น หรือใช้เครื่องเป่าลม (Blower) โดยการถอดส่วนหัวอุปกรณ์ (Detector Head) ออกจากฐานอุปกรณ์ (Detector Base) แล้วปัดหรือเป่าฝุ่นออก
9.2 ให้ตรวจเช็คดูสายนำสัญญาณทั้งสายคู่เข้าและสายคู่ออก ที่ตรงฐานอุปกรณ์ (Detector Base) ว่าปกติหรือไม่
9.3 ให้ตรวจเช็คดูดวงไฟ (LED) ที่ตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ว่าดวงไฟติดกระพริบๆ ปกติหรือไม่
9.4 ให้ทำการทดสอบการทำงานระบบตัวอุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส (GAS Detector) ด้วยการใช้แก๊สจากไฟแช็ค หรือแก๊ส เฉพาะอุปกรณ์ฉีดเข้า ไปตรงตำแหน่งห้องดักจับแก๊ส (Chamber) ของตัวอุปกรณ์ตรวจจับ แก๊ส (GAS Detector) แล้วให้รอประมาณ 5 – 10 วินาที ตัวอุปกรณ์จะทำการตรวจจับและแจ้งเตือน (Detector and Alarm) ไปที่ตู้ควบคุมระบบ (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
9.5 ให้ทำการทดสอบการทำงานระบบการแจ้งปัญหา (Trouble) ของอุปกรณ์ โดยการถอดหัวอุปกรณ์ (Detector Head) ออกจากฐานอุปกรณ์ (Detector Base) ของตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) รอสักครู่ระบบจะแจ้งเตือน (System Trouble) ไปที่ตู้ควบคุม (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
9.6 ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คอุปกรณ์นี้เดือนละ 1 ครั้ง

10. วิธีการบำรุงรักษาตัวอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station)

10.1 การทำความสะอาด กับตรวจเช็ค และทดสอบการทำงาน ตัวอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) แบบต่างๆ ให้ทำความสะอาด (Cleaning) ด้วยแปรงปัดฝุ่น หรือใช้เครื่องเป่าลม(Blower)
10.2 ให้ตรวจเช็คดูสภาพของตัวอุปกรณ์ว่า กระจกร้าวหรือแตกหรือไม่ กับสวิทซ์กดค้าง หรือเสียหรือไม่
10.3 ให้ทำการทดสอบการทำงานระบบตัวอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station)โดยใช้มือ หรือใช้ของแข็งทุบที่กระจกให้แตก (Break Glass) หรือใช้มือกดสวิทซ์ (Switch Single-Action) ที่บนตัวอุปกรณ์ลงเพื่อแจ้งเตือน (Alarm) ไปที่ตู้ควบคุม (FCP) แล้วเวลาจะทำให้อุปกรณ์กลับ คืนสู่สภาพเดิมให้เปลี่ยนแผ่นกระจก (Break Glass) ใหม่ หรือแบบสวิทซ์กด (Switch Single-Action) ใช้ประแจไขกลับ (Key Reset) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
10.4 ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คอุปกรณ์นี้ทุกวัน หรือ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

11. วิธีการบำรุงรักษาตัวอุปกรณ์เต้ารับโทรศัพท์ (Telephone Jack)

11.1 การทำความสะอาดกับตรวจเช็คและทดสอบการทำงานอุปกรณ์เต้ารับโทรศัพท์ (Telephone Jack) โดยการถอดแผ่น เต้ารับโทรศัพท์ออกมาทำความสะอาด (Cleaning) ด้วยแปรงปัดฝุ่นหรือใช้เครื่องเป่าลม (Blower)
11.2 ให้ตรวจเช็คดูสภาพของสายนำสัญญาณ ตอนถอดแผ่นเต้ารับโทรศัพท์ออกมา ว่าเสื่อมสภาพหรือไม่
11.3 ให้ทำการทดสอบการทำงาน ของอุปกรณ์เต้ารับโทรศัพท์ (Telephone Jack) ด้วยการใช้ชุดหูโทรศัพท์ (Telephone Handset) โดยการเอาแจ๊คหูโทรศัพท์เสียบเข้า ไปที่เต้ารับโทรศัพท์ เพื่อต่อวงจรการเรียกสัญญาณไปที่ชุดโทรศัพท์หลัก (Master Telephone หรือ Firefighter’s Emergency Telephone) ที่ติดตั้งอยู่ใกล้กับตู้ควบคุม (FCP) หรือติดตั้งอยู่ใกล้กับตู้ควบคุม (FCP) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
11.4 ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คอุปกรณ์นี้ทุกวันหรือ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

12. วิธีการบำรุงรักษาตัวอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices)

12.1 การทำความสะอาดกับตรวจเช็ค และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices) เช่น Alarm Bell หรือ Horn กับ Strobe หรือ Siren หรือ Indicating Lamp ให้ทำความสะอาด (Cleaning) ด้วยแปรง ปัดฝุ่น หรือใช้เครื่องเป่าลม (Blower)
12.2 ให้ตรวจเช็คดูสภาพของตัวอุปกรณ์ว่ามีการชำรุด กับมีส่วนไหนเสียหายหรือไม่
12.3 ให้ทำการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices) แบบต่างๆโดยให้ไปกดปุ่ม DRILL ที่ตู้ควบคุม (FCP) สำหรับซ้อมอพยพ ซึ่งทำให้อุปกรณ์ทุกตัวทำงานแจ้งเตือนพร้อมๆกัน (General Alarm) หรือไปทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม (Reflected Beam Smoke Detector) หรือตัว อุปกรณ์ตรวจจับ ควัน (Smoke Detector) หรือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) เมื่ออุปกรณ์ที่ได้ทำการทดสอบแจ้งเตือน (Alarm) ไปที่ตู้ควบคุม (FCP) ระบบสั่งงานอุปกรณ์แจ้งเตือน (NAC Output) ที่ตู้ควบคุม (FCP) จะไปส่งงานให้อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices) ที่มีติดตั้งไว้ในระบบ ทุกตัวทำงานแจ้งเตือน พร้อมๆกัน (General Alarm) ตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์กำหนดไว้
12.4 ทางผู้ใช้ควรหมั่นทำความสะอาด กับตรวจเช็คอุปกรณ์นี้ทุกวัน หรือ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ทั้งนี้ นอกจากการบำรุงรักษาอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ที่ต้องทำอยู่เป็นประจำแล้ว สิ่งที่ไม่ควรละเลย คือ การตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ประจำปี เพื่อให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา